วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.  2555 


- ส่งแผนการจัดประสบการณ์หน่วยของตนเอง(หน่วยนาฬิกา)

- เอากล่องที่สั่งให้เอามาแล้วอ.ถามว่า
 เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร?
 อยากให้กล่องนี้เป็นอะไร?         
 ใช้ทำอะไร?     
       การที่จะถามเด็กนั้น เราควรใช้คำถามที่เด็กรู้สึกไม่กดกัน ไม่กลัวผิด ใช้คำถามที่เด็กได้คิด ได้ตอบตามจินตนาการของ แล้วเด็กก็จะมีความสุขในการตอบ ไม่รู้สึกกลัวว่าจะตอบผิด เด็กจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรู้มา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด 
- การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนั้น ต้องสอนให้ถูกวิธีการเรียนรู้ ตามธรรมชาติของเด็ก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5


การต่อกล่อง
ครั้งที่ 1
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน แล้วนำกล่องมาต่อ โดยไม่ปรึกษากัน  ให้ต่อตามจินตนาการของตนเอง แล้วจะได้ผลงานมา 1 ชิ้น หลังจากนั้นก็ถามที่ละคน ว่าตอนที่กำลังจะต่อกล่อง อยากให้เป็นอะไร ซึ่งคำตอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนต่อ

ครั้งที่ 2
- ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ต่อกล่องโดยปรึกษากัน ว่าจะต่อเป็นรูปอะไร การต่อกล่องแบบนี้ จะทำให้เด็กเกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการรอคอย และการต่อกล่องนี้ ยังช่วยเสริมประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของรูปทรงของกล่อง กานับกล่อง การวัด การจับคู่ เป็นต้น

ครั้งที่ 3
- ให้นักศึกษาทั้งห้อง เอาผลงานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นงานชิ้นเดียว และให้นำกล่องหรืออุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่มาประกอบการสร้างชิ้นงาน การต่อกล่องแบบนี้ เป็นการเสริททักษะทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทของกล่อง การจับคู๋ การวัด รูปทรงและเนื้อที่ เป็นต้น
<embed src="http://widget.sanook.com/slide-diy/swf/slide.swf" flashvars="xmlPath=http://widget.sanook.com/static_content/farm1/1766/1512789a2595f3/myslide.xml" width="426" height="320" bgcolor="#FFFFFF"  wmode="transparent"></embed>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น