วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.  2555


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค


วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555



หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและอาจารย์ได้ให้ทำงานที่มอบหมายไว้ให้




วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.  2555 


- ส่งแผนการจัดประสบการณ์หน่วยของตนเอง(หน่วยนาฬิกา)

- เอากล่องที่สั่งให้เอามาแล้วอ.ถามว่า
 เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร?
 อยากให้กล่องนี้เป็นอะไร?         
 ใช้ทำอะไร?     
       การที่จะถามเด็กนั้น เราควรใช้คำถามที่เด็กรู้สึกไม่กดกัน ไม่กลัวผิด ใช้คำถามที่เด็กได้คิด ได้ตอบตามจินตนาการของ แล้วเด็กก็จะมีความสุขในการตอบ ไม่รู้สึกกลัวว่าจะตอบผิด เด็กจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรู้มา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด 
- การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนั้น ต้องสอนให้ถูกวิธีการเรียนรู้ ตามธรรมชาติของเด็ก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5


การต่อกล่อง
ครั้งที่ 1
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน แล้วนำกล่องมาต่อ โดยไม่ปรึกษากัน  ให้ต่อตามจินตนาการของตนเอง แล้วจะได้ผลงานมา 1 ชิ้น หลังจากนั้นก็ถามที่ละคน ว่าตอนที่กำลังจะต่อกล่อง อยากให้เป็นอะไร ซึ่งคำตอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนต่อ

ครั้งที่ 2
- ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ต่อกล่องโดยปรึกษากัน ว่าจะต่อเป็นรูปอะไร การต่อกล่องแบบนี้ จะทำให้เด็กเกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการรอคอย และการต่อกล่องนี้ ยังช่วยเสริมประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของรูปทรงของกล่อง กานับกล่อง การวัด การจับคู่ เป็นต้น

ครั้งที่ 3
- ให้นักศึกษาทั้งห้อง เอาผลงานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นงานชิ้นเดียว และให้นำกล่องหรืออุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่มาประกอบการสร้างชิ้นงาน การต่อกล่องแบบนี้ เป็นการเสริททักษะทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทของกล่อง การจับคู๋ การวัด รูปทรงและเนื้อที่ เป็นต้น
<embed src="http://widget.sanook.com/slide-diy/swf/slide.swf" flashvars="xmlPath=http://widget.sanook.com/static_content/farm1/1766/1512789a2595f3/myslide.xml" width="426" height="320" bgcolor="#FFFFFF"  wmode="transparent"></embed>

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

 วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2555

ความรู้ที่ได้รับ

-อาจารย์ดูงานที่สั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

-อาจารย์ให้ส่งตัวแทนออกไปเล่าความเรียงหน้าชั้น

-อาจารย์สั่งงานให้สอนเดี่ยว โดยในสมาชิกในกลุ่มตกลงเลือกสอนคนละ 1 วัน แต่ละคนสอน 20 นาที

เนื้อหางานที่อาจารย์ให้เขียน
    เด็กๆค่ะมีนาฬิกาอยู่ในบ้านของเด็กๆกี่เรือนแล้วเด็กเคยสังเกตรึป่าวค่ะว่านาฬิกาที่บ้านของเด็กๆมีรูปทรงอะไรบ้าง แล้วมีนำหนักเท่าไร ให้เด็กๆนำนาฬิกาข้อมือที่เป็นดิจิตอลมาวางบนโต๊ะ แล้วเด็กรู้ไม่ค่ะว่านาฬิกากลุ่มนี้ทำมาจากไม้ เด็กเห็นนาฬิกาอันนี้ไม่ค่ะคุณครูจะแบ่งครึ่งออกเป็น2ส่วนแต่ละส่วนมีตัวเลขอะไรบ้างค่ะเด็กๆแล้วเลข9 อยู่ใกล้เลขอะไรบ้างเด็กๆเห็นไม่ค่ะว่าทรายในนาฬิกามีจำนวนเท่าเดิมแม้จะกลับด้าน

การเขียนแผนการสอนและการสอน

ขั้นนำควรจะนำด้วยเพลง นิทาน เกมส์  การสอนควรสอนให้เป็นลำดับขั้นตอนบางวันอาจจะสอนไม่ครบทั้ง12ข้อเช่นจะสอนเรื่องชนิด>นับจำนวน>เอาตัวเลขมาแทนค่า>แยกประเภท>เปรียบเทียบ>วัด
มีการใช้สัญลักษณ์เด็กแรกเกิด-2ปีใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 2-4 ใช้ภาษา ,มีลำดับ 4-6พูดเป็นประโยคที่คนเข้าใจเหตุผล

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2555


ความรู้ที่ได้รับ

- อาจารย์ แจกกระดาษให้เขียนมายเม็มหน่วย
ของตัวเอง
- อาจารย์ออกไปนำเสนองานที่สั่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
 
หัวข้อที่นำเสนอหน่วย นาฬิกา
1.นับ >
มีนาฬิกาอยู่ในบ้านกี่เรือน
2.ตัวเลข
> เลข 9 อยู่ใกล้เลขอะไรในนาฬิกา
3.ประเภท
> นำนาฬิกาที่เป็นดิจิตอลไปวางบนโต๊ะและนำนาฬิกาแบบเข็มไปแขวน
4.เปรียบเทียบ >
นาฬิกาตั้งโต๊ะกับนาฬิกาข้อมืออันไหนใหญ่กว่ากัน
5.เรียงลำดับ
> เรียงตัวเลขจากน้อยไปหามาก
6.รูปทรงและเนื้อที่ >
นาฬิกาในบ้านมีรูปทรงอะไรบ้าง
7.การวัด
> นาฬิกามีน้ำหนักเท่าไร
8.จับคู่
> นำนาฬิกาดิจิตอลไปใส่ในกล่องรูปดาว
9.เซต
> นาฬิกาแขวนฝาผนังและนาฬิกาข้อมือส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุที่ทำจากไม้
10.เศษส่วน
> มีนาฬิกา10เรือนแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
11.การทำตามแบบ >
ให้เด็กวาดรูปนาฬิกาในกรอบสี่เหลี่ยม
12.การอนุรักษ
> เมื่อเวลาผ่านไปทรายในนาฬิกายังเท่าเดิมงานที่ได้รับมอบหมายนำทั้ง12ข้อไปเขียนเป็นความเรียง

หน่วยบ้าน

- การนับ > บ้านหลังนี้มีหน้าต่างกี่บาน
- ตัวเลข > บ้านหลังนี้มีบ้านเลขที่ 417
- การจับคู่ > เด็กๆจับคู่บ้านตึกแถวที่มีสีเดียวกัน
- การจัดประเภท > คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้า ให้เด็กๆนำภาพที่เป็นตึกแถวมาวางบนโต๊ะ
- การเปรียบเทียบ > คุณครูมีภาพ 2 ภาพ ให้เด็กๆเปรียบเทียบระหว่างกับภาพที่ 1 กับภาพที่ 2 ภาพไหนเล็กกว่ากัน
- การจัดลำดับ > ตอนเช้าฉันทำความสะอาดห้องน้ำ หลังจากนั้นตอนบ่ายฉันไปล้างจานในครัว
- รูปทรงและเนื้อที่ > เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบของบ้ายมีอะไรบ้าง
- การวัด > คุณครูมีภาพบ้าน 2 ภาพ วางห่างกัน ให้เด็กๆวัดระยะห่างของบ้านทั้ง 2 หลัง

โดยใช้นิ้ว
- เซต => วันนี้จะมีแขกมาเยี่ยมห้องของเราคุณครูจะให้เด็กๆช่วยกันจัดชุดกาแฟ 2 ชุด
- เศษส่วน => ฉันปลูกบ้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน คือ
ส่วนที่ 1 ปลูกผัก ส่วนที่ 2 เลี้ยงปลา ส่วนที่ 3 เลี้ยงวัว และส่วนที่ 4 ปลูกบ้าน- การทำตามแบบหรือลวดลาย => ให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมบ้านที่หายไปให้สมบูรณ์
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ => คุณครูแบ่งดินน้ำมันให้คนละก้อนเท่าๆกันโดยให้เด็กๆปั้นรูปบ้านตามจิตนาการของตนเอง

หน่วยแมลง 
- การเปรียบเทียบ => แมลงเต่าทองกับแมลงปอแมลงชนิดไหนมีขนาดเล็กกว่ากัน
- การจัดลำดับ => การจัดแมลงที่มีขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่
- รูปทรงและเนื้อที่ => แมลงแต่ละชนิดมีรูปทรงอะไรบ้าง
- การวัด => ให้เด็กวัดความยาวลำตัวของแมลงโดยใช้นิ้ว
- เซต => ให้เด็กๆเตรียมอุปกรณ์ในการจับแมลง
- เศษส่วน => มีแมลง 10 ตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
- กาารทำตามแบบหรือลวดลาย => ให้เด็กสังเกตต่อภาพจิ๊กซอตามตัวอย่าง


หน่วยกุหลาบ
- การนับ > ให้เด็กๆช่วยกันนับว่าในช่อกุหลาบมีกุหลาบกี่ดอก
- ตัวเลขให้เด็กๆนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดแทนค่าจำนวนดอกกุหลาบ
- การจับคู่ให้เด็กจับคู่ภาพดอกกุหลาบที่มีจำนวนเท่ากัน
- การเรียงลำดับให้เด็กๆเรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่
- รูปทรงส่วนประกอบของดอกกุหลาบมีรูปร่างอย่างไร
- การวัดให้เด็กๆวัดความยาวของกุหลาบโดยการใช้ไม้บรรทัด
- การจัดประเภทให้เด็กจัดกลุ่มดอกที่มีสีแดง
- เศษส่วนมีดอกกุหลาบทั้งหมด 10 ดอก และให้เด็กๆแบ่งเป็น 2 กองเทาาๆกัน
- กาารทำตามแบบและลวดลายนำวัสดุที่เป็นดอกกุหลาบมาประกอบให้เป็นดอกกุหลาบ
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณนำดอกกุหลาบมาใส่แจกันที่มีความแตกต่างกัน
- เซตเครื่องมือในการปลูกดอกกุหลาบ
- การเปรียบเทียบดอกกุหลาบดอกไหนใหญ่กว่ากัน
- เนื้อที่แปลงดอกกุหลาบ 1 แปลงปลูกกุหลาบได้กี่ต้น

หน่วยยานพาหนะ
- การนับเด็กๆช่วยกันนับล้อรถว่ามีกี่ล้อ
- ตัวเลข > ฉันขึ้นรถเมล์สาย 206
- จับคู่ > ให้เด็กๆจับภาพจำนวนหมวกกันน็อคกับตัวเลขฮินดูอารบิก
- การจัดประเภทให้เด็กๆหยิบภาพรถที่มีล้อ 2 ล้อมาติดที่ครูกำหนด
- การเปรียบเทียบเด็กๆคิดว่ารถไฟกับรถเมล์รถชนิดใดมีล้อมากกว่ากัน
- การเรียงลำดับในช่วงเช้าฉันทำความสะอาดรถในช่วงบ่ายไปตรวจสภาพรถ
- รูปทรงรถไฟมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- เซตการทำความสะอาดมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
- การเปรียบเทียบรถมอเตอร์ไซค์วิ่งเร็วกว่าจักยานแต่มีล้อ 2 ล้อเหมือนกัน

หน่วยขนมไทย
- การนับการนับจำนวนชนิดของขนม
- จำนวนให้เด็กนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดตามจำนวนขนมที่อยู่ในถาด
- จับคู่เด็กๆจับคู่ขนมที่เหมือนกัน
- การจัดประเภทให้เด็กๆแยกขนมที่นิ่มออกมาใส่จาน
- การเปรียบเทียบให้เด็กๆเปรียบเทียบขนาดของขนมเล็กใหญ่และนำมาเปรียบเทียบชิ้นไหนใหญ่กว่ากัน
- การจัดลำดับให้เด็กๆเรียงชิ้นขนม จากเล็ก-ใหญ่
- รูปทรงให้เด็กๆหยิบขนมที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม
- เนื้อที่เด็กๆคิดว่าถาด 1 และถาด 2 ถาดไหนใส่ขนมมากกว่ากัน
- เซตเด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ในการทำขนมมีอะไรบ้าง
- การทำตามแบบและลวดลายให้เด็กๆแต่่งลวดลายตามอิสระ
- เศษส่วนถ้าเด็กๆมีขนม 4 ชิ้นจะแบ่งขนมให้เท่าๆกันอย่างไร
- การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณการทำวุ่นใส่แม่พิมพ์คนละรูปแต่ตัวเนื้อวุ้นมีขนาดเท่ากัน

หน่วยกล้วย
- การนับกล้วยในตะกร้ามีกี่ลูก
- ตัวเลข > เด็กๆหยิบเลขฮินดูอารบิกมาติดที่หวีของกล้วย
- จับคู่ให้เด็กๆจับคู่กล้วยหอมเล็กกับเล็ก ใหญ่กับใหญ่
- การจัดลำดับเรียงกล้วยที่มีขนาดเล็กไปหาใหญ่
- รูปทรงตัดต้นกล้วยที่มีรูปทรงกลมมาทำกระทง
- การวัดให้เด็กๆวัดผลกล้วยโดยการใช้ไม้บรรทัด
- เซตการจัดเซตอุปกรณ์ในการทำกล้วยบวชชี
- เศษส่วนกล้วย 1 หวี แบ่งครึ่งให้เท่าๆกันและแบ่งให้เด็ก 2 คน
- การทำตามแบบและลวดลายวาดภาพต่อเติมต้นกล้วยตามที่ครูกำหนด
- การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณกล้วยฉาบแบ่งใส่ขวดโหล กล้วยกวนแบ่งใส่กล่อง

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

 วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

-อาจารย์ตรวจงานแต่ละกลุ่มและให้ข้อเสนอแนะในแต่ละกลุ่ม
















-อาจารย์ให้เพื่อนออกมาร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้ฟังว่าเกี่ยวข้องอะไรกับ


เพื่อนออกมาร้องเพลงโปเล โอลา
















โปเล่ โปเล่ โปเล่ โอลา
เด็กน้อยยื่น 2 แขนมา
มือซ้ายขวาทำเป็นคลื่นทะเล
ปลาวาฬพ่นน้ำเป็นฝอย
ปลาเล็กปลาน้อยว่ายตาม
ปลาวาฬนับ 1 2 3
ใครว่ายตามปลาวาฬจับตัว


เนื้อหาที่ได้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

-เป็นการนับปากเปล่า
-ซ้าย-ขวา บอกถึงตำแหน่ง
-เพลงนี้เด็กเล็กๆจะร้องได้ง่าย

 อ.นิตยา ประพฤติกิจ. 2541 : 17-19
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลข เช่น ตัวเลข การนับเลขปากเปล่า
2. ตัวเลข (Number) เป็นตัวเลขที่เด็กเห็นในชีวิตประจำวันเช่น การแทนค่า ลำดับที่
3. การจับคู่ (Matching) เด็กรู้จักสัญลักษณ์ต่างๆ การจับคู่สัญลักษณ์กับจำนวน สัญลักษณ์กับสัญลักษณ์
4. การจัดประเภท(Clasification) จัดประเภทหรือการหาเกณฑ์ในการจัดประเภทว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในเรื่องใด
5. การเปรียบเทียบ(Comparing) ความสัมพันธ์ระหว่าสิ่งของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้ค่าจำนวนสิ่งของสองสิ่ง รู้จักใช้คำศัพย์ สั้นกว่า หนักกว่า
6. การจัดลำดับ(Ordering) การจัดบล็อค 5 แท่ง ที่มีความยาวเท่า ๆ กัน ให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หรือยาวไปสั้น
7. รูปทรงและเนื้อหา (Shape and Space) เราให้เด็กเปรียบเทียบพื้นที่ด้วยสายตาก่อน แล้วจึงจัดประสบการณ์ให้เด็กรู้จักกับรูปร่างรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม
8. การวัด (Measurement) ระยะทาง ปริมาณ น้ำหนัก ปริมาณเนื้อที่
9. เซต (Set) เซตของจานอาหาร
10. เศษส่วน (Fraction)
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) การทำให้เด็กจดจำรูปแบบลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ฝึกสังเกตุ ฝึกทำตาม
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้วยปริมาณ (Conservation)

เยาวพา เดชะคุป (2542 : 81-82)
1. การจัดกลุ่มหรือเซต การจับคู่ การจับคู่สิ่งของรวมกลุ่ม
2.จำนวน 1-10 จำนวนคู่-คี่
3. ระบบจำนวน และแต่ละข้อของตัวเลข
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต การจับคู่ผลไม้
5. คุณสามบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties OF Math)
6. ลำดับสำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยชน์คณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาณ คุณภาพต่างๆ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
7. การวัด (Measurement) การวัดสิ่งของที่เป็นของเหลว เงินตรา อุณหภูมิ
8. รูปทรงเลขาคณิต การเปรียบเทียบรูปทรง ขนาด ระยะทาง
9. สถิติและกราฟ การหาความสัมพันธ์และนำมาเปรียบเทียบ นำมาอ่านด้วยการฟ

งาน
เพิ่มเติมงานกลุ่มในแต่ละหัวข้อของแต่ละกลุ่มเกี่ยวข้องอะไรกับคณิตศาสตร์



วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13  พฤศจิกายน   พ.ศ. 2555


-ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
-เมื่อเราจะเรียกตัวเลขให้เด็กฟังเราควรพูดให้เป็นความเคยชินว่า เลขฮินดูอารบิก
เพื่อให้เด็กรู้ว่าตัวเลขแบบที่เราใช้กันส่วนใหญ่นั้นเรียกว่า เลขฮินดูอารบิก
-เด็กแต่ละคนควรมีบัตรภาพและเขียนชื่อเด็กไว้ด้วยเพื่อเป็นตัวแทนของตัวเด็กเอง
-เด็กอายุ 3 ขวบจะนับตัวเลขตามได้แต่ก็ยังไม่เข้าค่อยเข้าใจเท่าไรนัก

-เมื่อจะสอนเด็กนับเลขหลักหน่วยควรสอนให้เด็กนับ เช่น
มีอยู่ 1 เพิ่มมาอีก1 เป็น 2
มีอยู่ 2 เพิ่มมาอีก 1 เป็น 3
มีอยู่ 3 เพิ่มมาอีก 1 เป็น 4
มีอยู่ 4 เพิ่มมาอีก 1 เป็น 5 เป็นต้น

-เมื่อจะสอนเด็กนับเลขหลักสิบควรสอนให้เด็กนับ เช่น
10 กับอีก 1 เป็น 11
10 กับอีก 2 เป็น 12
10 กับอีก 3 เป็น 13
10 กับอีก 4 เป็น 14
10 กับอีก 5 เป็น 15

-การบูรณาการมี 2 ลักษณะ
1.การบูรณาการที่เป็นเนื้อเดียวกัน
2.การบูรณาการที่แยกส่วน

-อาจารย์ให้ฟังเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
1.เพลงกบกระโดด
นับ 1 เป็นกบกระโดด
นับ 2 ว่ายน้ำเป็นปลา
นับ 3 วิ่งควบเหมือนม้า
นับ 4 บินเหมือนผีเสื้อ
2.เพลงแมลงปอ
เจ้าแมลงปอบินมา 1 ตัว บินแล้วก็หมุนไปรอบตัว
บินไปทางซ้าน บินไปทางขวา
บินไปข้างหลังและก็บินไปข้างหน้า

-ครูปฐมวัยควรแต่งเพลงได้และต้องมีจุดมุ่งหมาย

เกมการศึกษา
1.การศึกษารายละเอียดของภาพ (ลอตโต้)
2.ความสัมพันธ์ 2 แกน - ทิศทาง
3.โดมิโน - การต่อกันโดยใช้ปลายบนหรืล่างให้สีเหมือนกัน
4.จิ๊กซอหรือภาพตัดต่อ
5.จับคู่
6.เรียงลำดับเหตุการณ์ - สิ่งที่เกิดก่อนหลังซึ่งมีความเชื่อมโยงกันอย่างต่ดเนื่อง
7.อนุกรม - เป็นชุด เช่น ภาพเดียวกันแต่มีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่
8.อุปมา อุปไมย - ถ้าเห็นสีขาวจะนึกถึงสำลี ถ้าเห็นสีดำนึกถึงอีกา

- เมื่อเราจะเข้าสู่การเสริมประสบการณ์เราควรใช้
1.นิทาน
2.เพลง
3.คำคล้องจอง
4.เกมการศึกษา
5.กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
6.กิจกรรมศิลปะ
7.กิจกรรมกลางแจ้ง
8.กิจกรรมเสรี

งาน
แบ่งกลุ่ม 5 คน สร้างหน่วย 1 หน่วยและจากหน่วยนั้นจะสะท้อนอะไรบ้างกับคณิตศาสตร์

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

 วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555

กิจกรรมในการเรียนการสอนในวันนี้
- อาจารย์สร้างข้อตกลงในการเรียน
- อาจารย์พูดถึงการสร้างบล็อก องค์ประกอบของบล็อก
- อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนเกียวกับในการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าควรที่จะต้องเรียนรูเกียวกับอะไรบ้าง